การสร้างนวัตกรรม เชิงความคิด คือการมีความคิดที่สร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งาน เช่น นวัตกรรมทางบริการหรือผลิตภัณฑ์ โดยประโยชน์ของการคิดเชิงนวัตกรรมได้แก่การเพิ่มมูลให้กับผลิตภัณฑ์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ถือถือเป็นสิ่งที่ควบคู่กับ การสร้างนวัตกรรม ยิ่งมีความคิดสร้างสรรค์มากเท่าไหร่ ก็ยิงมีโอกาสที่จะค้นพบนวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ถือเป็นแนวทางการคิดเชิงนวัตกรรม หากมองว่าการสร้างนวัตกรรมเป็นทักษะอย่างหนึ่ง หน้าที่ของบริษัทองค์กรก็คือ หาบุคลากรที่มีทักษะที่ต้องการหรือต้องเพิ่มทักษะเหล่านี้ให้กับพนักงานที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มจำนวนความสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น โดยหาขั้นตอนง่าย ๆ ที่ทำซ้ำได้เพื่อสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ประโยชน์ของ การสร้างนวัตกรรม เชิงความคิด
ความคิดเชิงนวัตกรรมประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับองค์กรต่าง ๆ เช่น ทำให้องค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ มีไอเดียใหม่ ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างดังนี้
เพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน – การที่มีกระบวนการทางความคิดที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่งทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน – การมีความคิดเชิงนวัตกรรมสามารถทำให้องค์กรทำงานได้เต็มขีดความสามารถ ทำงานเร็วมากขึ้น
กำลังใจของพนักงาน – องค์กรณ์ที่มีความคิดเชิงนวัตกรรมสามารถใช้ดึงดูดคนเก่ง ๆ ได้ยกตัวอย่างเช่น Apple ที่ล้วนมีคนฉลาด ๆ หรือพนักงานไฟแรงแห่เข้าสมัครงานตลอดเวลา นั่นก็เป็นเพราะว่าเห็นคุณค่าของการคิดเชิงนวัตกรรม หากองค์กรสามารถสอนแนวคิดนี้ให้กับพนักงานได้ก็จะสามารถซื้อใจพนักงานได้
การสร้างสรรค์สินค้าใหม่ – การผลิตสินค้าใหม่ หรือการเปิดตลาดใหม่ จะส่งผลให้องค์กรมีกำไรมากขึ้น มีความเสี่ยงน้อยลงเพราะไม่ต้องพึ่งพาแต่สินค้าตัวเดิม ๆ
จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของ การสร้างนวัตกรรม เชิงความคิด อยู่ที่การเพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการ การสร้างไอเดียใหม่แปลกใหม่เยอะขึ้น และทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่จะทำให้นวัตกรรมเกิดง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการสร้างนวัตกรรม หรือการคิดเชิงนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากไม่ใช่สิ่งที่ทุกองค์กรจะทำได้ เพราะจริง ๆ แล้วไม่ได้ขึ้นอยู่กับไอเดียหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างที่คิด ความยากของนวัตกรรมที่แท้จริงอยู่ที่กรอบความคิดของคนภายในองค์กร นั่นก็หมายความว่าหากอยากจะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม มีความสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่งมีความได้เปรียบทางการค้า องค์กรก็ต้องหาวิธีพัฒนาปรับระบบภายในก่อนเพื่อสนับสนุนการสร้างการคิดเชิงนวัตกรรม