โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

โรคเบาหวาน ถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอย่างมากในกลุ่มของผู้สูงอายุ ซึ่งจะสามารถพบได้มากถึงร้อยละ 20 ของจำนวนคนไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาเหวานมากกว่าคนที่มีอายุน้อยนั่นก็คือ การเสื่อมของตับอ่อน เพราะส่วนดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินสุลิน เป็นฮอร์โมนที่นำมาใช้ในการควบคุมระดับของน้ำตาลภายในเลือด และนอกไปจากนี้การที่มีอายุมากขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินสุลิน หรือการทำให้ฮอร์โมนอินสิลินออกฤทธิ์ในการทำงานได้น้อยลงนั่นเอง

ความอันตรายของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

โรคเบาเหวาน ถือว่าเป็นโรคที่มีความน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะเป็นโรคที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาในส่วนของหลอดเลือดต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะจุดสำคัญอย่าง หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง และตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยตรง โดยการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองตีบ สามารถเริ่มต้นทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในโลหิต และรวมไปถึงระดับไขมันในเลือด สิ่งเหล่านี้จะส่งผลโดยตรง ซึ่งร่ายการสามารถสัมผัสความเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความหวาน ความเค็ม และอาหารที่มีไขมันสูง จะสามารถช่วยป้องกันได้เป็นอย่างดี

ซึ่งผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานส่วนใหญ่ จำเป็นที่จะต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาล ยาลดความดันโลหิต รวมไปถึงยาลดละดับโคเลสเตอรรอลในเลือด ซึ่งผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลภายในร่างกายได้ดี ควรที่จะมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ที่ น้อยกว่า 7 ระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 130 มม.ปรอท และ 80 มม.ปรอท และระดับโคเลสเตอรอลในเลือดตัวร้านน้อยกว่า 100 มก. ต่อ ดล.

ซึ่งการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน เพราะการใช้งานในแต่ละครั้งก็ควรต้องระวังเรื่องของผลข้างเคียงของตัวยาที่อาจจะก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น วิธีที่สามารถป้องกันได้ดีที่สุดก็คือการได้รับยาที่ถูกต้อง และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เขี่ยวชาญ ซึ่งการควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ โดยการลดความดันโลหิตตัวบนให้น้อยกว่า 130 มม.ปรอท อาจจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ เพราะจะส่งผลโดยตรงต่ออาการมึน และวิงเวียนศีรษะจากการลดระดับความดันโลหิตแบบเฉียบพลัน ซึ่งคำแนะนำของแพทย์จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำการดูแลตามอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ