กินเผ็ดมากส่งผลเสียอะไรต่อสุขภาพบ้าง?
- ช่องปาก – การกินเผ็ดมากเกินไปทำให้เกิดการแสบร้อนในช่องปาก และอาจส่งผลต่อลิ้น เหงือก ริมฝีปาก แก้ม เพดานปาก รวมทั้งทำให้ปากแห้ง หิวน้ำ และสูญเสียการรับรสไปชั่วขณะหนึ่ง
- ระบบทางเดินอาหาร – สารเเคปไซซินเป็นสาเหตุของการปวดท้องอาหารไม่ย่อย ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ในกรณีที่เกิดการอาเจียน กรดจากกระเพาะอาหารจะไปทำให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคืองได้
- ระบบทางเดินหายใจ – กินเผ็ดมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้จากอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มโรคจมูกอักเสบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ แต่มีสาเหตุมาจากอาหาร โดยทำให้มีน้ำมูกไหล มีเสมหะในคอ
ข้อดีของการกินเผ็ด
- ทำให้เจริญอาหาร
- ประโยชน์ของพริกคือมีสารแคปไซซิน ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวสามารถรับอาหารได้มากยิ่งขึ้น และสามารถกินอาหารได้นานมากขึ้น
- หากเป็นคนที่กินเผ็ดเป็นประจำ จะทำให้ลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหารได้ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ร่างกายเกิดความชินชากับความเผ็ด จึงทำให้ผู้ที่กินเผ็ดเป็นประจำ สามารถกินของเผ็ดมากได้โดยที่ไม่รู้สึกแสบร้อนไม่มากเท่าคนที่ไม่กินเผ็ด
- มีงานวิจัยรายงานว่า การกินเผ็ด 6-7 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยให้มีอายุยืนยาวมากขึ้น หรือลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ถึง 14%
- ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยต้านเชื้อเเบคทีเรียบางชนิด
- ช่วยให้เจริญอาหารเนื่องจากพริกมีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยให้กระเพาะอาหารส่วนต้นขยายตัวรับอาหารได้มากและนานขึ้น ทำให้ผู้ที่รับประทานอาหารรสเผ็ดสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น
- ลดอาการปวดแสบร้อนในทางเดินอาหารเมื่อรับประทานรสเผ็ดเป็นประจำนอกจากความเผ็ดแล้ว ตัวรับสารแคปไชซินที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินอาหารสามารถรับความรู้สึกปวดและแสบร้อนได้อีกด้วย ตัวรับนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อถูกกระตุ้นซ้ำ จะเกิดความชินและทนต่อการกระตุ้นได้มาก จึงทำให้ผู้ที่รับประทานเผ็ดอย่างต่อเนื่องจะมีความรู้สึกปวด และแสบร้อนในทางเดินอาหารลดลง
ข้อเสียของการกินเผ็ด
- เกิดการแสบร้อนในช่องปากและทางเดินอาหาร รวมไปถึงอาจถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น
- สารแคปไซซินถึงจะมีประโยชน์ แต่ก็มีโทษเช่นกัน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ
- หากกินเผ็ดมากเกินไปเสี่ยงต่อการท้องเสีย หากร่างกายเราไม่สามารถย่อยแคปไซซินได้อย่างสมบูรณ์ การขับถ่ายจึงเป็นการขับสารแคปไซซินที่ไม่สามารถย่อยได้อย่างสมบูรณ์ออกจากร่างกาย
- ทำให้เกิดกรดไหลย้อน โดยความเป็นกรดในพริกจะไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และไปกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนกลับขึ้นมาที่ช่องคอ การที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมานี้ อาจทำให้รู้สึกแสบร้อนที่ทรวงอก แน่นหน้าอก เป็นต้น
- ปวด แสบร้อนบริเวณช่องปากและทางเดินอาหารผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารรสเผ็ดเป็นประจำอาจเกิดอาการแสบร้อนในปากแสบร้อนหน้าอก ปวดแสบท้อง และถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น
- กินเผ็ดอย่างถูกวิธี อร่อยได้ ปลอดภัยด้วย
- สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ไม่ควรกินอาหารเผ็ด แม้ว่าความเผ็ดจะไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ก็ตาม แต่การกินเผ็ดมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุของการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์
- หากมีอาการเผ็ดจากอาหารที่กำลังกินอยู่นั้น ให้หยุดพักทันที และดื่มน้ำเพื่อลดอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้น
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ควรงดของเผ็ด เพราะความเผ็ดจะทำให้อาการต่าง ๆ เหล่านั้นยิ่งรุนแรงมากขึ้น รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีไข้ หรือเพิ่งผ่าตัด ไม่ควรกินของเผ็ด
- ความเผ็ดสามารถส่งผลให้อาการของโรคบางชนิดรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เพราะความเผ็ดทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง
เหรียญมีสองด้านเสมอ เช่นเดียวกันกับการกินเผ็ดที่มีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง ซึ่งเราควรกินเผ็ดอย่างถูกวิธี ไม่กินเผ็ดมากเกินไป เพราะเสี่ยงทั้งโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจลุกลามไปเป็นโรคร้ายแรงโดยที่เรายังนิ่งนอนใจจนไม่ทันระวัง ไม่ว่าโรคร้ายแรงหรือมะเร็งเกิดจากอะไร การที่เราวางแผนรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการทำประกันโรคร้ายแรงไว้ จะช่วยรับมือในวันที่ล้มป่วย ประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท มอบเงินก้อนเพื่อที่คุณจะสามารถบริหารจัดการเงินได้ตามความจำเป็น รักษาตัวหายได้ไม่กระทบเงินเก็บ